มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2563 พร้อมประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2563 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ผ่านทางออนไลน์
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เดิมมีการคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศของปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน และตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าไว้ที่ 310,000 คัน แต่ทว่าในสถานการณ์ไตรมาสที่ 1 ตัวเลขยอดขายตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 200,000 คัน หรือคิดเป็น 76% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 56,200 คัน คิดเป็น 65% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ การหยุดสายการผลิตเป็นการชั่วคราวไปแล้วนั้น ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงไปที่ประมาณ 128,500 คัน คิดเป็น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 38,100 คัน หรือคิดเป็น 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในทางกลับกันหากเราพิจารณาถึงยอดจำหน่ายรายเดือนของช่วงไตรมาสที่ 2 จะเห็นได้ว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงค่อยๆฟื้นตัว อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น”
สถิติการขายรถยนต์ ม.ค. – มิ.ย. 2563
ปริมาณการขายรวม |
328,604 คัน |
ลดลง 37.3% |
รถยนต์นั่ง |
119,716 คัน |
ลดลง 42.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
208,888 คัน |
ลดลง 34.2% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
166,409 คัน |
ลดลง 35.6% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
149,432 คัน |
ลดลง 33.7% |
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. 2563
ปริมาณการขายโตโยต้า |
94,222 คัน |
ลดลง 45.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.7% |
รถยนต์นั่ง |
29,926 คัน |
ลดลง 50.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 25.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
64,296 คัน |
ลดลง 42.2% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
56,265 คัน |
ลดลง 43.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
49,622 คัน |
ลดลง 41.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.2% |
มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ในส่วนของภาคธุรกิจยานยนต์ของประเทศไทยนั้น ผลกระทบที่เราได้รับยังถือว่าไม่รุนแรงเท่ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และการฟื้นตัวของประเทศไทยดูจะรวดเร็วกว่า ดังนั้น แม้เราอาจจะยังไม่ควรที่จะประเมินสถานการณ์ให้สูงจนเกินไป แต่ผมเห็นว่าแนวโน้มของตลาดรถยนต์ไทยน่าจะไปในทิศทางที่ดี และสถานการณ์จะไม่แย่เท่ากับที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งผมหวังว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการฟื้นตัวให้กับทวีปเอเชียทั้งหมดในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากแนวโน้มเชิงบวกที่เห็นได้จากยอดจำหน่ายรายเดือนแล้ว ประเทศไทยยังประสบความสำเร็จในการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ซึ่งในขณะนี้มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อพิจารณาสัญญาณบวกเหล่านี้แล้ว เราจึงได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 เป็น 660,000 คัน คิดเป็น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายรุ่นนั้น ส่งผลให้เราปรับเป้าหมายยอดจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในปี 2563 นี้ใหม่เป็น 220,000 คัน คิดเป็น 66% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับ 33.3% ของส่วนแบ่งทางการตลาด หากในอนาคตตลาดมีแนวโน้มในเชิงบวกมากขึ้น เราก็จะท้าทายตัวเองด้วยการปรับเป้าหมายให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีก”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2563
ปริมาณการขายรวม |
660,000 คัน |
ลดลง 34.5% |
รถยนต์นั่ง |
225,100 คัน |
ลดลง 43.5% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
434,900 คัน |
ลดลง 28.6% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
346,015 คัน |
ลดลง 29.7% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
310,000 คัน |
ลดลง 28.2% |
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2563
ปริมาณการขายโตโยต้า |
220,000 คัน |
ลดลง 33.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.3% |
รถยนต์นั่ง |
62,800 คัน |
ลดลง 46.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 27.9% |
รถเพื่อการพาณิชย์
|
157,200 คัน |
ลดลง 26.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 36.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
135,600 คัน |
ลดลง 29.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 39.2% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
121,000 คัน |
ลดลง 26.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 39.0% |
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก 2563 ของโตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 97,000 คัน ลดลง 30% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เราได้เห็นสัญญาณเชิงบวกจากในภูมิภาคโอเชียเนียและบางประเทศในทวีปเอเชีย ด้วยเหตุนี้ เราจึงปรับการคาดการณ์การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปสำหรับปีนี้ทั้งปี อยู่ที่ 194,000 คัน หรือคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในส่วนของการผลิตรถยนต์ของเรานั้น ก็เป็นไปตามสภาวะของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเหนือกว่าที่เราได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น จำนวนการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563 จะอยู่ในระดับที่ 408,000 คัน คิดเป็น 71% เมื่อเทียบกับยอดการผลิตของปีที่ผ่านมา”
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2563
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,013 คัน ลดลง 32.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
16,661 คัน |
เพิ่มขึ้น 26.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.7% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
13,366 คัน |
ลดลง 53.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.0% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า |
5,822 คัน |
ลดลง 52.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 10.0% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,768 คัน ลดลง 41.3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า |
4,816 คัน |
ลดลง 47.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.2% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
4,802 คัน |
ลดลง 50.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.1% |
อันดับที่ 3 ซูซูกิ |
1,776 คัน |
ลดลง 13.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 8.6% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,245 คัน ลดลง 26.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
16,661 คัน |
เพิ่มขึ้น 26.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 44.7% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
8,564 คัน |
ลดลง 55.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.0% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,562 คัน |
ลดลง 34.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 6.9% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 29,576 คัน ลดลง 26.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
15,368 คัน |
เพิ่มขึ้น 29.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 52.0% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
7,375 คัน |
ลดลง 57.2% |
ส่วนแบ่งตลาด 24.9% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,562 คัน |
ลดลง 34.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 8.7% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,992 คัน
โตโยต้า 1,262 คัน – มิตซูบิชิ 553 คัน – อีซูซุ 500 คัน – นิสสัน 337 คัน – ฟอร์ด 312 คัน – เชฟโรเลต 28 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,584 คัน ลดลง 25%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
14,868 คัน |
เพิ่มขึ้น 33.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 55.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
6,113 คัน |
ลดลง 58.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.0% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,009 คัน |
ลดลง 26.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 7.6% |
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 328,604 คัน ลดลง 37.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า |
94,222 คัน |
ลดลง 45.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.7% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ |
76,054 คัน |
ลดลง 14.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.1% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า |
41,326 คัน |
ลดลง 36.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 12.6% |
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,716 คัน ลดลง 42%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า |
34,518 คัน |
ลดลง 29.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.8% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
29,926 คัน |
ลดลง 50.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 25.0% |
อันดับที่ 3 นิสสัน |
12,641 คัน |
ลดลง 36.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 10.6% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,888 คัน ลดลง 34.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
76,054 คัน |
ลดลง 14.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 36.4% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
64,296 คัน |
ลดลง 42.2% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.8% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
15,416 คัน |
ลดลง 38.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 7.4% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 166,409 คัน ลดลง 35.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
70,573 คัน |
ลดลง 13.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 42.4% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
56,265 คัน |
ลดลง 43.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.8% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
15,416 คัน |
ลดลง 38.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 9.3% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 16,977 คัน
โตโยต้า 6,643 คัน – มิตซูบิชิ 3,818 คัน – อีซูซุ 2,948 คัน – ฟอร์ด 2,098 คัน – นิสสัน 832 คัน – เชฟโรเลต 638 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,432 คัน ลดลง 33.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
67,625 คัน |
ลดลง 11.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 45.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
49,622 คัน |
ลดลง 41.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.2% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
11,598 คัน |
ลดลง 36.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 7.8% |